สืบเนื่องมาจากเมื่อวันก่อนผมละเพื่อน ๆ ได้ไปหาซื้อมือถือกันแล้วมีอยู่ช่วงนึงของการเดินซื้อของนั้นมีการพูดถึง SD การ์ดกับความเร็วในการถ่ายภาพ ( เอาหล่ะสิเริ่มงงกันแล้วใช่มั้ยหล่ะว่ามันมาเกี่ยวกันอย่างไร? )
แล้วในวันถัดมาเลยเพื่อนผมผู้ที่เป็นเจ้าของ Blog ดัง kaosuaylunla ได้ทำเขียนบทความที่ชื่อว่า แชร์ประสบการณ์ตรง เริ่มต้นทำบล็อกลงทุนยังไงดี? โดยในนั้นก็จะกลายถึงเรื่องราวกว่าจะมาเป็น kaosuaylunla แบบทุกวันนี้นั้นได้ลงทุนไปกับอะไรบ้าง และหนึ่งในนั้นก็คือ SD การ์ด
เอาหล่ะหลายคนคงพอจะรู้คาด ๆ หล่ะว่า “เห้ยยย ! ถ้าจะใช้กล้องคุณภาพสูง ๆ จำเป็นต้องมี SD การ์ด class สูง ๆ ด้วยนะ” หรืออะไรแทบ ๆ นี้
วันนี้ผมจะมานำเสนอว่า ที่มาที่ไปว่าทำไมมันต้องใช้งาน SD การ์ด class สูง ๆ ใช้งานพวกที่เป็น class ต่ำ ๆ ราคาเบา ๆ ไม่ได้หรอ ?
SD การ์ด Class ต่าง ๆ สำคัญอย่างไร ?

ก็มีความสำคัญอยู่เนือง ๆ เพราะว่าเอาจริง ๆ หล่ะตัว class ต่าง ๆ มันเป็นตัวบอกว่า SD การ์ดที่เห็นนี้มีความเร็วในการเขียน ( Write ) และ อ่าน ( READ ) เท่าไหร่กันนั้นเอง
เพราะฉะนั้นตัวหลักจริง ๆ ที่ผมจะมุ่งให้ความสนใจมันคือเรื่องของความเร็วในการเขียนและอ่านของตัว SD การ์ด
ความเร็วในการเขียนและอ่านมันสำคัญอย่างไร ?
ความเร็วในการเขียนและอ่านสำคัญสุด ๆ บอกเลยครับ เพราะว่ามันเป็นอีกหนึ่งตัวกำหนดเลยหล่ะว่า กล้องหรือมือถือที่เราใช้จะเปิดข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลเร็วขนาดไหน ?
ในที่นี้ผมจะพูดแต่เรื่องกล้องนะครับ ว่ามันเกี่ยวกันได้อย่างไร ?
เรามาทำความเข้าในกันก่อนเรื่องความเร็ว ความเร็วของ SD การ์ด เราจะเห็นจากต่างข้างบนซึ่งในนั้นจะบอกมาแต่ความเร็วในการเขียน โดยจะเห็นว่ามันเป็น 2 MB/s หรือ 10 MB/s มันหมายถึง SD การ์ด class นั้น ๆ มีความสามารถที่จะเขียนข้อมูลลงไปได้เพียงเท่านั้นเช่น
ถ้าสมมุติว่าคุณใช้งาน SD การ์ด class 4 ที่มีความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 4 MB/s หรือ 4 MB ต่อ วินาที ที่นี้เรามาดูกันว่ารูปภาพเดียวนี้อย่างของมือถือ iPhone6 ของผมเวลาถ่ายรูปออกมา ด้วยความละเอียดที่ 3,264 x 2,448 พิเซล ละมีขนาดไฟล์อยู่ที่ 1.5 MB
เริ่ม ๆ เห็นอะไรกันขึ้นมาหรือยังครับ ? จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ต่อให้เครื่องมือถือเราดีสักเท่าไหร่ แต่ถ้า SD การ์ดที่เราใช้งานนั้นดันมีความเร็วในการเขียนอยู่ที่ 4 MB/s iPhone6 ก็จะสามารถถ่ายรู้ในโหนด birdshot ( ถ่ายรูปแบบยิงรัว ๆ ) ได้เพียง 2 รูปภาพต่อ 1 วินาที เท่านั้น
ที่นี้เรามาลองดูรูป 4k กันบ้าง ขนาดไฟล์จะอยู่ที่ประมาณ 4.3 MB เท่ากับว่า 1 วินาทีคุณจะไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปใน SD การ์ดได้หมด ต้องใช้เวลา 1 วินาทีนิด ๆ ในการบันทึก

ก็แค่ 1 วินาทีกว่า ๆ ไม่เป็นอะไรเลยนิ ผมรอได้
อืม…ผมเข้าใจครับถ้าแบบคุณเป็นช่างภาพสายชิล 1 ชัวโมงต่อรูป ผมก็ว่ามันก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ลองนึกว่าคุณจะต้องถ่ายหนังด้วยรายละเอียด 4k ดูสิ อือหือออออออ แค่คิดก็ขนลุกแล้วครับ เพราะอะไรนะหรอ ?
เวลาถ่ายหนัง frame rate ต่ำ ๆ ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 20 รูปต่อวินาที เอาหล่ะ 1 รูป 4k มีขนาดข้อมูลอยู่ที่ 4.3 MB งั้นคิดแบบโง่ ๆ คร่าว ๆ กันก็จะเอา 4.3 MB ต่อรูป คูณด้วย 20 รูป ผลลัพธ์ก็คืออย่างน้อย ๆ SD การ์ด ของคุณจะต้องมีความสามารถในการเขียนอยู่ที่ 86 MB/s หรือ 86 MB ต่อวินาที
เราก็คงไม่ต้องพูดถึง class 2, 4, 6, 10 กันเลยเพราะไม่ไหวแน่ ๆ สุดท้ายก็ต้องเป็นตัวสุดท้ายของตารางซึ่งยังไม่มีชื่อ class ใด ๆ กำกับ
— จบ —
หวังว่าบทความนี้จะเป็นอะไรที่พอจะช่วยให้คุณ ๆ ตัดสินใจเลือกใช้งาน SD การ์ด กันได้อย่างถูกต้อง และถูกงานนะครับ เช่น ถ้ารูปภาพที่คุณถ่ายปกติจะมีขนาดอยู่ที่ 8 MB ต่อ รูป class อย่างน้อย ๆ ที่คุณต้องซื้อเลยก็จะเป็น class 10
แต่ถ้าคุณไม่ได้ถ่ายรูป แต่เป็นถ่ายหนัง ถ่ายวิดีโอ ก็ลอง ๆ เอาขนาดรูปมาคูณกับจำนวน frame rate ดูนะครับ =)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.kaosuaylunla.com/2016/10/startup-blogger.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Secure_Digital